เทวดาน่ารู้

วิธีการเลี้ยงแพะมีกี่แบบ?

ในปัจจุบันถ้าพูดถึงสัตว์เศรษฐกิจ ที่ชาวเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมเลี้ยง และ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร คงหนีไม่พ้น “แพะ”แต่การเลี้ยงแพะของแต่ฟาร์มอาจจะมีวิธีการเลี้ยงดูที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งจากที่เราศึกษาการเลี้ยงแพะ จะมีลักษณะและวิธีการเลี้ยงแพะอยู่ 4 วิธี ซึ่งการเลี้ยงแพะแต่ละแบบ อาจจะขึ้นอยู่กับสถานที่ พื้นที่ในการเลี้ยง หรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกษตรกรเห็นเหมาะสม รวมถึงงบประมาณในการเลี้ยงแพะ เรามาดูกันว่าลักษณะและวิธีการเลี้ยงแพะนั้น 4 แบบนั้นมีอะไรบ้าง และวิธีการเลี้ยงเป็นอย่างไร

แบบที่ 1 วิธีการเลี้ยงแพะแบบผูกล่าม

โดยวิธีการเลี้ยงแพะแบบนี้จะใช้เชือกในการผูกล่ามที่คอแพะ โดยใช้เสาหลักไม้หรือตอไม้ ผูกเชือกไว้  และให้แพะหากินหญ้ารอบบริเวณที่ผูกล่ามไว้ ซึ่งเชือกที่เราใช้ผูก จะอยู่ที่ประมาณ  5 – 10 เมตร  แต่การเลี้ยงแพะแบบผูกล่าม ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องมีน้ำ  หญ้า และอาหารที่แพะกินประจำวางไว้อยู่นในบริเวณที่ผูกล่ามด้วย เพราะแพะไม่สามารถเดินหากินเองได้ การเลี้ยงแพะแบบผูกล่าม ในตอนกลางคืนจำเป็นที่จะต้องพาแพะไปเลี้ยงในพื้นที่ที่มีร่มเงา รวมถึงต้องมีสถานที่หลบแดดหลาบฝนได้ หรือจะให้ดีเมื่อเวลาฝนตกควรมีคอก เพื่อป้องกันการไม่สบายของแพะได้

แบบที่ 2 วิธีการเลี้ยงแพะแบบขังคอก

ซึ่งวิธีการเลี้ยงดูแบบนี้ ส่วนใหญ่จะมีการลงทุนที่สูงมากในการทำคอกแพะ เกษตรกรไม่ค่อยนิยมที่จะเลี้ยงแบบนี้ ซึ่งการเลี้ยงแพะแบบขังคอก เกษตรจะขังแพะไว้ในคอก โดยจะมีแปลงหญ้า และรั้วรอบแปลงหญ้า เพื่อให้แพะได้กิน รวมถึงต้องมีน้ำ อาหารที่แพะกินประจำ วิธีการเลี้ยงแบบนี้ข้อดีเลยคือ ประหยัดพื้นที่และแรงงานในการเลี้ยงดูแพะ เพราะด้วยพื้นที่จำกัดให้เลี้ยงดูได้ง่ายกว่าวิธีการเลี้ยงแบบอื่นๆ ที่ต้องใช้พื้นที่เยอะรวมคนงานเลี้ยงดู แต่ในปัจจุบันการทำคอกแพะ มีคอกแพะแบบประหยัดคือการเลือกใช้งานเป็นรั้วตาข่ายถักปม ด้วยช่องตาข่ายถี่ด้านล่างห่างบน ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานล้อมแพะได้ ด้วยงบที่ไม่ได้สูงจนเกินไป โดยรั้วตาข่ายประเภทนี้มีความสูงเริ่มต้นตั้งแต่ 90 ซม. ขึ้นไป และราคาเริ่มต้นเฉลี่ยต่อเมตรเพียง 53 บาท ทำให้รั้วตาข่ายถักปม รั้วตาข่ายเทวดา เป็นหนึ่งในทางเลือกที่คนเลี้ยงแพะนิยมใช้กัน

แบบที่ 3 วิธีการเลี้ยงแพะแบบปล่อย

เรียกได้ว่าเป็นวิธีการเลี้ยงแพะที่ค่อนข้างนิยมในหมู่เกษตรกร เนื่องด้วยวิธีการเลี้ยงแบบนี้ค่อนข้างที่จะงบประมาณน้อย ประหยัดกว่าการเลี้ยงแบบขังคอก  การเลี้ยงแพะแบบปล่อย จะปล่อยให้แพะได้เดินออกหากินเอง โดยที่เกษตรกรไม่ต้องมาตัดหญ้าให้แพะกิน ซึ่งในบริเวณที่เลี้ยงอาจจะต้องมีแปลงผัก หญ้า รวมถึงอาหารที่แพะสามารถกินได้  วิธีการเลี้ยงแบบปล่อยเกษตรจะนิยมปล่อยให้แพะหากินตอนสาย ต้อนกลับเข้าคอกตอนเที่ยง หรือ เป็นปล่อยตอนบ่าย กลับเข้าคอกตอนเย็น แต่วิธีการเลี้ยงแบบนี้อาจจะดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะถ้าในช่วงฝนตก หรือแดดร้อนจัด ก็ไม่ควรปล่อยแพะออกมาอาจจะทำให้แพะเจ็บป่วยหรือไม่สบายได้ เพราะแพะสามารถกินพืชผักได้หลายชนิด ถ้าไม่เจอพืชผักที่เป็นอันตรายอาจจะทำให้ถึงตายหรือเจ็บป่วยได้ และอีกอย่างที่ควรระวังสำหรับวิธีการเลี้ยงแพะแบบปล่อยนั่นคือ แพะสามารถเดินได้ทั่วบริเวณ อาจจะไปทำลายความเสียหายในแปลงพืช ผักที่เราปลูกไว้ก็ได้ อาจจะต้องมีรั้วตาข่าย ที่กำลังเป็นที่นิยมมาล้อมป้องกันไว้ เพราะรั้วตาข่ายประเภทนี้ราคาไม่สูงมาก ประหยัดงบประมาณกว่าทำคอกด้วย

แบบที่ 4 วิธีการเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช

ซึ่งวิธีการเลี้ยงแบบนี้สามารถนำวิธีการเลี้ยงทั้ง 3 แบบที่ได้กล่าวมาข้างต้น มาเลี้ยงผสมผสานกับการปลูกพืชอื่นๆ เช่น การปลูกยางพารา ปลูกปาลม์น้ำมัน  หรือปลูกมะพร้าว ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ แต่ละภาคว่านิยมปลูกพืชอะไร  แต่ส่วนใหญ่จะมีเกษตรกรชาวภาคใต้ที่นิยมเลี้ยงแพะไปควบคู่กับการทำสวนยาง โดยให้แพะหาหญ้ากินบริเวณใต้ต้นยาง ซึ่งการเลี้ยงแพะแบบนี้ยังช่วยให้เกษตรกรเพิ่มรายได้มากกว่าการปลูกพืชอย่างเดียว เพราะเราก็ยังมีรายได้จากการเลี้ยงแพะที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกด้วย

การที่เราจะเลือกวิธีการเลี้ยงแพะ เกษตรกรหรือฟาร์ม อาจจะต้องดูถึงสภาพแวดล้อม พื้นที่ หรือบริเวณรอบๆ เพื่อดูความเหมาะสมว่าเราจะเลือกเลี้ยงแพะด้วยวิธีไหน รวมถึง แรงงาน งบประมาณในการเลี้ยงดู ว่าวิธีการเลี้ยงแพะแบบไหนที่จะช่วยให้ตอบโจทย์การเลี้ยงดูได้มากที่สุด ถ้าต้องการเลี้ยงดูแบบประหยัด แต่พื้นที่ไม่อำนวยในการเลี้ยงแบบปล่อยก็ต้องหาวิธีการเลี้ยงที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลเสีย หรือเปลืองงบประมาณกว่าที่คิดไว้ เราต้องหาวิธีการเลี้ยงที่ดี ตอบโจทย์ รวมถึงหวังว่าแพะที่เราเลี้ยงจะมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง เพื่อทำรายได้ให้กับเราได้ด้วย